บมจ.ทีคิวเอ็ม คอร์ปอเรชั่น เตรียมขาย IPO 75 ล้านหุ้น ระดมทุนลุยระบบออนไลน์รับธุรกิจประกันภัยดิจิทัล
บมจ. ทีคิวเอ็ม คอร์ปอเรชั่น เตรียมขาย IPO 75 ล้านหุ้น ระดมทุนลุยระบบออนไลน์รับธุรกิจประกันภัยดิจิทัล
สํานักงาน ก.ล.ต.นับหนึ่ง ไฟลิ่ง บมจ.ทีคิวเอ็ม คอร์ปอเรชั่น (บริษัทฯ) พร้อมเดินหน้าเสนอขาหุ้น IPO ใน จํานวนไม่เกิน 75,000,000 หุ้นมูลลค่าที่ตราไว้ 1.0 บาทต่อหุ้น ตั้งเป้านําเงินจากการระดมทุนพัฒนาระบบออนไลน์รับ สังคมยุคดิจิทัล ด้านผู้บริหาร พร้อมเดินหน้ารุกขยาย4 กลุ่มธุรกิจอย่างต่อเนื่อง รับการเติบโตอุตสาหกรรมประกันภัย
นายพิเชษฐ สิทธิอํานวย กรรมการผู้อํานวยการ บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จํากัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษา ทางการเงินร่วม เปิ ดเผยว่า หลังจาก บมจ. ทีคิวเอ็ม คอร์ปอเรชั่น หรือ TQMได้ยื่นแบบคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ และแบบแสดงและร่างหนังสือชี้ชวน (ไฟลิ่ง) ต่อสํานักงานคณะกรรมการกากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อขอเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) ล่าสุด สำนักงาน ก.ล.ต. ได้นับหนึ่งแบบคําขอ อนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์และแบบไฟลิ่งเป็นที่เรียบร้อย
โดยปัจจุบัน บริษัทฯ มีทุนจดทะเบียน 300 ล้านบาท โดยเป็นทุนที่ชําระแล้ว 225 ล้านบาท มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) หุ้นละ 1.0 บาท และจะเสนอขายหุ้น IPO จํานวนไม่เกิน 75,000,000 หุ้น หรือคิดเป็ นสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 25.00 ของ จํานวนหุ้นสามัญที่ออกและเรียกชําระแล้วทั้ งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการเสนอขายหุ้นในครั้งนี้ ซึ่งในจํานวนนี้จะ จัดสรรให้แก่กรรมการ ผู้บริหาร และ/หรือพนักงานบริษัท และ/หรือพนักงานบริษัทย่อย
(ESOP) จํานวนไม่เกิน 11,250,000 หุ้น หรือคิดเป็ นสัดส่วนร้อยละ 3.75ของทุนชําระแล้วภายหลังจํานวนหุ้น IPO ที่เสนอขายทั้งหมด และส่วนที่ เหลือจะเสนอขายให้แก่ประชาชนทั่วไป
นางสาวพันทิตา แซ่เอ็ง ผ้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวานิชธนกิจ บริษัทหลักทรัพย์ ธนชาต จํากัด (มหาชน)ใน ฐานะที่ปรึกษาทางการเงินร่วม เปิดเผยว่าบริษัทฯ จะระดมทุนเพื่อนําไปใช้พัฒนาโครงการสําหรับปรับปรุงและพัฒนา ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และ โครงการพัฒนากระบวนการทางธุรกิจ โดยลงทุนในระบบ Enterprise Resource Planning (ERP) รวมถึงการเพิ่มทุนชําระแล้วในบริษัทแกน ได้แก่ บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จํากัด (“TQM Broker”)และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนของบริษัท
ทั้งนี้หากสํานักงาน ก.ล.ต. อนุมัติแบบไฟลิ่งและแบบคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ให้ให้แก่ประชาชนให้แก่ ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรกเป็นที่เรียบร้อย จะร่วมกันกาหนดวันที่เหมาะในการเสนอขายหุ้น IPO และคาดวาจะนํา บริษัทฯ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ภายในปี นี้
ดร.อัญชลิน พรรณนิภา ประธานคณะกรรมการ บมจ. ทีคิวเอ็ม คอร์ปอเรชั่น ผู้นําธุรกิจให้บริการนายหน้า ประกันภัย ในประเทศไทย ภายใต้แนวคิด “TQM ไม่หยุดทําดีที่สุดเพื่อคุณ” เปิดเผยว่าภาพรวมการดําเนินธุรกิจของ บริษัท ฯ แบ่งการให้บริการเป็น 4 ด้าน คือ(1) ธุรกิจนายหน้าประกันวินาศภัย ให้บริการผ่าน บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จํากด ( ั “TQM Broker”)โดยมีการขายผลิตภัณฑ์ประกันวินาศภัยทั้งสิ้ นกว่า 130ผลิตภัณฑ์ ทั้งในกลุ่มประกัน รถยนต์ (Motor) ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.) และกลุ่มประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ และ ั กลุ่มประกัน Non-Motor ในรูปแบบประกันอัคคีภัย ประกันภัยทางทะเลและขนส่ง และประกันวินาศภัยเบ็ดเตล็ด เป็นต้น (2) ธุรกิจนายหน้าประกันชีวิต ดําเนินธุรกิจผ่าน บริษัท ทีคิวเอ็ม ไลฟ์ อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จํากัด ( “TQM Life”) ซึ่งมีการเสนอขายผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตทั้งสิ้นกว่า 20ผลิตภัณฑ์ ครอบคลุมทั้งประกันชีวิตประเภทรายบุคคลและประกันชีวิตประเภทกลุ่ม
(3) ธุรกิจให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและซอฟต์แวร์ผานบริษัท แคสแมท จํากัด (“Casmatt”) ซึ่ง ครอบคลุมการให้คําปรึกษาด้านกระบวนการทางธุรกิจ งานวิจัยตลาดดิจิตอล เป็นต้น และ(4) ธุรกิจให้บริการด้าน คําแนะนําเกี่ยวกบประกันภัย ผ่านบริษัท ทีคิวแอลดี จํากัด ( “TQLD”) ซึ่งเป็นบริษัทร่วม เพื่อเป็นช่องทางให้กบลูกค้าใน ั การค้นหาและเปรียบเทียบข้อมูลประกันภัยได้อย่างรวดเร็ว และประหยัดเวลา ผ่านรูปแบบการกรอกข้อมูลของลูกค้า ทั้งนี้ ปัจจุบัน กลุ่มบริษัทฯ มีพันธมิตรที่เป็นบริษัทประกันภัยกว่า 40แห่ง มีพนักงานขายที่ได้รับใบอนุญาตนายหน้าประกันภัย ให้บริการกว่า 2 ,000 คน ผ่านสาขาและศูนย์บริการทั่วประเทศร่วม95แห่ง ที่สามารถให้บริการลูกค้าได้ครอบคลุมและ ทั่วถึงทุกพื้นที่ทั่วประเทศไทย
ดร. นภัสนันท์ พรรณนิภา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. ทีคิวเอ็ม คอร์ปอเรชั่น เปิดเผยว่าภาพรวมธุรกิจของ บริษัทฯ มีการเติบโตที่ดีอยางต่อเนื่อง มีปัจจัยสนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมประกันทําให้โอกาสเติบโตมีมาก นอกจากนี้ อัตราการทําประกันภัยในประเทศไทยยังตํ่าเมื่อเทียบกับเพื่อนบ้าน โดยจากข้อมูลรายงานธุรกิจประกัน ประจําปี 2559 ของ สวีส รีอินชัวร์รัน ซึ่งเป็นบริษัทประกันชั้นนําของโลก พบว่าธุรกิจประกันของประเทศในทวีปเอเชีย ั ประเทศไทย มีสัดส่วนเบี้ยประกันรับรวมทุกประเภทต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Insurance Penetration) ที่ร้อยละ 5.42 หากพิจารณา เบี้ยประกันภัยต่อคน (Insurance Density) พบประเทศไทย มีเบี้ยประกันภัยต่อคน (Insurance Density) เพียง 323.4 ดอลลาร์สหรัฐต่อคน (GDP) ต่อจํานวนประชากร ตํ่ากว่าประเทศมาเลเซีย ่ สิงคโปร์ ไต้หวัน และเกาหลีใต้ซึ่ง ผลดังกล่าวทําให้บริษัทฯ ได้รับประโยชน์จากอุตสาหกรรมประกันที่มีโอกาสขยายตัวได้อีกในอนาคต โดยกลุ่มบริษัทฯ ซึ่งประกอบธุรกิจนายหน้าประกันภัยไม่มีความเสี่ยงด้านการดํารงเงินกองทุนฯและการบริหารผลตอบแทนจากเบี้ย ประกันภัย